เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 3. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
สมบูรณ์ด้วยปฏิภาณบ้าง สมบูรณ์ด้วยสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วบ้าง ออกบวชจาก
ตระกูลสูงบ้าง ออกบวชจากตระกูลใหญ่บ้าง ออกบวชจากตระกูลมีทรัพย์มากบ้าง
ออกบวชจากตระกูลมีโภคะมากบ้าง เป็นผู้มีชื่อเสียงมียศกว่าคฤหัสถ์และบรรพชิต
ทั้งหลายบ้าง เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารบ้าง
เป็นผู้ทรงจำพระสูตรบ้าง เป็นผู้ทรงจำพระวินัยบ้าง เป็นพระธรรมกถึกบ้าง เป็นผู้
อยู่ป่าเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
บ้าง เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตร
บ้าง เป็นผู้งดอาหารมื้อหลังเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการ
อยู่ในเสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ได้ปฐมฌานบ้าง เป็นผู้ได้ทุติยฌาน
บ้าง เป็นผู้ได้ตติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้จตุตถฌานบ้าง เป็นผู้ได้อากาสานัญจายตน-
สมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้อากิญจัญญายตน-
สมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติบ้าง รวมความว่า สัตว์เกิดใด
กล่าวถึงตัวเองเท่านั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
สัตว์เกิดใดไม่มีใครถาม
ก็บอกศีลวัตรของตนแก่บุคคลเหล่าอื่น
สัตว์เกิดใดกล่าวถึงตัวเองเท่านั้น
ผู้ฉลาดทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า ผู้ไม่มีอริยธรรม
[18] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ส่วนภิกษุผู้สงบ ดับกิเลสแล้ว
ไม่โอ้อวดในศีลทั้งหลายว่า เราเป็นดังนี้
อนึ่ง ภิกษุใดไม่มีกิเลสเครื่องฟูในที่ไหน ๆ ในโลก
ผู้ฉลาดทั้งหลายเรียกภิกษุนั้นว่า ผู้มีอริยธรรม

ว่าด้วยผู้ได้ชื่อว่าภิกษุ
คำว่า ผู้สงบ ในคำว่า ส่วนภิกษุผู้สงบ ดับกิเลสแล้ว อธิบายว่า ชื่อว่าผู้สงบ
เพราะสงบราคะ ชื่อว่าผู้สงบ เพราะสงบโทสะ ชื่อว่าผู้สงบ เพราะสงบโมหะ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :83 }